........................ขอต้อนรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกคนนะครับ....................... .. ...หน้าแรก......กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์.......โรงเรียนภูเขียว.........สพป.ชย.2......สพม.30.....ครูไทย ......ตรวจดูการอบรมพัฒนา ....สมุดเยี่ยม.....ติดต่อ
.....เครื่องร่อนกระดาษหน้าที่ 2.....

โฟมหาจากได้ที่ไหนมั้ง แล้วต้องเตรียมอะไรอีกหรอ

..............ใช้โฟมที่เป็นกล่องใส่อาหารก็ได้ โฟมใช้ทำปีกหน้าและปีกหลัง ทำแบบโบอิ้งก็ได้ บินดี ส่วนลำตัวใช้ พีพีบอร์ด ก็ย่อส่วนมาจากโบอิ้งอีกนั่นแหละ ลองทำดู พีพีบอร์ดหาสัก 2 มิล ถ้าไม่มี 3 มิลก็พอได้


ลำตัวยาว 20 ซ.ม. ปีกหน้ากว้าง 20 หรือ 18 ซ.ม. หรือต่ำกว่า ก็ได้ ลองดู ปีกหลังกว้าง 6-7 ซ.ม. เส้นกลางปีกหน้า 5 ซ.ม. ปีกหลัง 2.5 ซ.ม. ความจริงควรทำเลย อย่าไปคิดอะไรมาก กะๆ เอาไปก่อน อาจจะดีก็ได้ เมื่อทำเสร็จแล้วลองยิงดู แล้วค่อยแก้ไข จะได้ความรู้แน่นกว่าการทำตามแบบก็ดี แต่ไม่รู้เหตุผลว่าทำไมต้องเท่านี้ เท่านั้น เพราะตามแบบไง สไตล์ผม คือลุยลูกเดียว ผิดถูกค่อยว่ากันทีหลัง แต่ควรใช้เหตุผล และสังเกตเครื่องบินจริงเป็นหลัก ลองดู มีปัญหาก็ถามได้
............ต้องลงมือทำ ลำตัวเครื่องร่อนยาว 40 ซม. ความยาวปีก 53 ซม. ปีกกว้าง 8 ซม. ปีกหน้าปรับองศา ประมาณ 2 องศา ปีกหลัง 0 องศา ผมใช้เส้นตัดของ กลึ่งกลางความยาวปีก ตัดกับลำตัว เพื่อหาจด CG แล้วค่อยๆเติมตะปูหน้า จนลำตัวตั้งตรง ไม่รู้วิธีนี้ใช้ได้หรือเปล่าครับ (หรือควรทำอย่างไร) ใช้ร่อนด้วยมือบินได้สวย และไปได้ไกลประมาณ 8 เมตร

................พอมีเวลาว่างผมก็นำเครื่องร่อนไปแนะนำตามโรงเรียน ต่างๆ ที่ไม่ไกลมากนัก ส่วนใหญ่จะแนะนำการเล่น การปรับแต่ง เสนอวิธีการประดิษฐ์ เครื่องมือให้ผู้บริหารเอาไว้ประดิษฐ์เอง แต่ก็ยังไม่มีท่านใดตอบรับ ผมอยากให้เด็กๆได้เล่นกันมากๆ แต่ก็อยากให้ทำกันเอง บางโรงก็ชื่นชมเครื่องมือ ผมก็ขอภาวนาให้ทำกันจริงๆ จะเป็นกุศลสำหรับเด็กๆ ไม่มากก็น้อย คิดว่าน่าจะมากโขอยู่ (เรียกว่า จุดประกาย)


ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ